เพิ่มรูป แก้ไข View : 4,380

อุดรธานี ต้องเที่ยว

อุดรธานี ต้องเที่ยว

อุดรธานี ต้องเที่ยว

1.วัดป่าภูก้อน

วัดป่าภูก้อนดำรงคงอยู่ด้วยความสมดุลของป่าไม้ที่ทวีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นทุกคืนวัน โดยบุคคลผู้มีความศรัทธาและระลึกคุณของสรรพสิ่งทั้งหลายของชาติและแผ่นดินอันเป็นที่กำเนิดแห่งชีวิต โดยมีคุณพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องสำนึก และมีพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ที่ชาวไทยทุกคนควรทดแทน เป็นกำลังใจส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบให้ดำรงปฏิปทาของพระป่ากรรมฐานเพื่อบูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จนถึงที่สุด

วัดป่าภูก้อน

 

2.หนองบัวแดง กุมภวาปี

หนองหานกุมภวาปี มีพื้นที่มากกว่า 28,000 ไร่ ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีเพียง 34 กม. มีศักยภาพการท่องเที่ยวสูงมาก ทั้งธรรมชาติที่หลากหลาย โดยเฉพาะความสวยงามของ “ทะเลบัวแดง”  ศาสนาและอารยธรรมโดยรอบ วัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน อบจ.อุดรธานีได้ร่วมกับชาวบ้านเดียม และใกล้เคียง พัฒนาพื้นที่รองรับการท่องเที่ยว มีลานจอดรถ อาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ท่าจอดเรือ ทางเดิน ห้องน้ำ และลานเอนกประสงค์ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งจะสามารถรองรับได้ทั้งปี

หนองบัวแดง กุมภวาปี

 

3.วัดโพธิสมภรณ์

ตั้งอยู่ที่ ตำบลหมากแข้ง เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.2499 ตอนปลายราชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร(โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งสร้างวัด ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดใหม่ ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงประทานนามว่า “วัดโพธิสมภรณ์” ให้เป็นอนุสรณ์แก่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรผู้สร้างวัดนี้

วัดโพธิสมภรณ์

 

4.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง ระหว่างปี พ.ศ. 2517–2518 จากการศึกษาหลักฐาน ต่าง ๆ ที่พบทำให้บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุราว 1822–4600 โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้จดทะเบียนให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลกทางประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

 

5.คำชะโนด

ลักษณะพื้นที่โดยรอบเป็นเกาะ มีต้นชะโนด เกิดขึ้นรวมกันอยู่ เป็นกลุ่มประมาณ 20 ไร่ ต้นชะโนดเป็นต้นไม้ชนิดที่หายากมากในประเทศไทย มีลักษณะประกอบด้วยต้นไม้ 3 ชนิดคือ ต้นมะพร้าว ต้นหมาก และต้นตาล รวมกันเป็นต้นชะโนด ภายในป่าชะโนดยัง มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์อยู่ตรงกลางเกาะ เรียกว่า บ่อคำชะโนด เป็นน้ำใต้ดินที่พุ่งไหลซึมตลอดเวลา

คำชะโนด

 

6.ศาลหลักเมืองอุดรธานี

ศาลหลักเมืองเดิมได้รับความร่วมมือจากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในสมัย นายจินต์ รักการดี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ทำการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2502 ในช่วง 39 ปี ที่ผ่านมาศาลหลักเมืองเดิมได้มีสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงมีการปรับปรุงสร้างศาลาหลังใหม่ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2539 โดยในขณะนั้น นายวิชัย ทัศนเศรษฐ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีได้อัญเชิญท้าวเวสสุวรรณ อันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองอุดรธานีมาประดิษฐานเคียงคู่กับอาสน์ศาลหลักเมืองใหม่พร้อมกันอีกโสตหนึ่งด้วย

ศาลหลักเมืองอุดรธานี

 

7.ศาลเจ้าปู่ ย่า

มีสวนหย่อมริมหนองบัว บรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การท่องเที่ยวและพักผ่อน และในศาลเจ้าปู่-ย่าแห่งนี้ เป็นศาลเจ้าของชาวจีนที่ใหญ่โตและสวยงาม ยังมีมังกรทองยาวถึง 99 เมตร ซึ่งใช้แสดงในงานทุ่งศรีเมืองในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี

ศาลเจ้าปู่ ย่า

 

8.วัดมัชฌิมาวาส

เดิมชื่อวัดโนนหมากแข้ง โดยได้รับพระราชทานบรมราชานุญาติสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ภายในวัดมีพระพุทธรูปหินสีขาวปางนาคปรกประดิษฐานอยู่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "หลวงพ่อนาค" เป็นที่เคารพสักการะของชาวอุดรธานี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5

วัดมัชฌิมาวาส

 

9.หมู่บ้านนาข่าและศูนย์หัตถกรรมบ้านเม่น

เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าขิตในราคาย่อมเยา การเดินทางมีรถโดยสารประจำทางสายอุดรธานี-นาข่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นได้ที่หน้าสถาบันราชภัฎอุดรธานีและตลาดรังษิณา

หมู่บ้านนาข่าและศูนย์หัตถกรรมบ้านเม่น

 

10.วัดป่าบ้านตาด

มีลักษณะเป็นพื้นที่ป่าบนโคกเนินที่ล้อมรอบด้วยกำแพงคอนกรีต มีพื้นที่ทั้งหมดราว 163 ไร่ มีประตูเข้าออกเป็นประตูใหญ่อยู่บริเวณ ด้านหน้าของวัดการจะเข้าไปในวัดต้องขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสเสียก่อน กำแพงล้อมรอบบริเวณ วัดนอกจากมีจุดประสงค์ที่จะให้แสดงเขตแน่นอนของวัดแล้วยังป้องกันอันตรายให้กับสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของวัด

วัดป่าบ้านตาด